ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
องค์ประกอบหลักงานก่อสร้างของโครงการ
- งานสะพาน ค.ส.ล. ความยาว 359.000 เมตร กว้าง 12.00 เมตร จำนวน 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง ข้างละ 2.50 เมตร
- งานถนนต่อเชื่อมผิวแอสฟัลต์คอนกรีต ความยาว 647.962 เมตร จำนวน 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง ข้างละ 1.00-1.50 เมตร
- งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง บ่อพัก ค.ส.ล. ป้ายจราจรและเครื่องอำนวยความปลอดภัย ตั้งแต่ กม. 0+000.000 ถึง กม. 1+006.962 (จุดสิ้นสุดของโครงการบริเวณคลองชลประทาน)
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเป็นเส้นทางที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของพื้นที่
- เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดและเป็นการชี้นำให้เกิดการพัฒนาเมืองตามหลักการผังเมืองที่เหมาะสม
- เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เมืองสู่ชุมชนโดยรอบได้อีกเส้นทางหนึ่ง
- เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกับยานพาหนะ
ความเป็นมาของโครงการ
กรมทางหลวงชนบทมีถนนในความรับผิดชอบที่มีจุดตัดผ่านทางรถไฟกระจายอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 153 แห่ง และด้วยเหตุที่ปัจจุบันปริมาณการจราจรบนถนนดังกล่าว มีจำนวนสูงขึ้น ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกับยานพาหนะบ่อยครั้ง กรมทางหลวงชนบทจึงมีแผนปรับปรุงจุดตัดผ่านทางรถไฟดังกล่าว ให้สอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้บริเวณจุดตัดผ่านทางรถไฟที่มีค่าคูณควบจราจร (Traffic Movement ;T.M.) มากกว่า 100,000 จะต้องก่อสร้างเป็นทางต่างระดับในรูปแบบของสะพานหรืออุโมงค์ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุอย่างสมบูรณ์ และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการสัญจรของรถไฟและยานพาหนะบนถนนของกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเป็นการสนับสนุนโครงการ
รายละเอียดสัญญาของโครงการฯ
ผู้ออกแบบ | บริษัท วิชชากร จำกัด บริษัท พี.วี.เอส.-95 คอนซัลแต้นซ์ จำกัด |
---|---|
ผู้ให้บริการงานควบคุมงานก่อสร้าง | บริษัท เชนี่ เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด |
สัญญาจ้างที่ปรึกษา | สกส.8/2560 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2560 |
ผู้รับจ้างก่อสร้าง | กิจการร่วมค้า MAC |
สัญญาผู้รับจ้าง | 12/2567 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 |
ค่างานก่อสร้าง | 124,290,000.00 (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) |
วันที่เริ่มปฏิบัติงาน | 17 มิถุนายน 2567 |
วันที่สิ้นสุด | 7 พฤษภาคม 2569 |
ระยะเวลาก่อสร้าง | 690 วัน |
ระยะเวลารับประกันผลงาน | 24 เดือน |
ค่าปรับ | 310,725 (ต่อวัน) |
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- สามารถลดการเกิดอุบัติเหตุที่รถไฟชนกับยานพาหนะ และปลอดภัยมากขึ้น
- ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของพื้นที่บริเวณบ้านหนองโรงและพื้นที่ใกล้เคียงในด้านเศรษฐกิจ
- สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนโดยรอบทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- ช่วยเพิ่มศักยภาพของโครงข่ายถนน เป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เมืองสู่ชุมชนโดยรอบ